อ่างทองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรผู้ใช้น้ำ

ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรผู้ใช้น้ำ ในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายางมณี จังหวัดอ่างทอง

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม 2563 เวลา 11.00 น. นายกฤษฎา ศรีเพิ่มพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 พร้อมด้วย นายรวินท์ กลิ่นศรีสุข ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายางมณี นายเนรมิต เทพนอก ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชลประทาน นายพงษ์ศักดิ์ อัครมณี ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการและบำรุงรักษา นายศุภเกียรติ เมฆสินธ์ุ ผู้อำนวยการส่วนแผนงาน และนายสมชายธนินทร์ พ่วงสุวรรณ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอ่างทอง ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรผู้ใช้น้ำในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายางมณี จังหวัดอ่างทอง เพื่อชี้แจงสร้างความเข้าใจสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ ในช่วงฤดูแล้งปี 62/63 ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรของกรมชลประทานในช่วงฤดูแล้ง ปี 62/63 โดยมี ฝ่ายความมั่นคง ปลัดอำเภอวิเศษชัยชาญ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง เกษตรอำเภอวิเศษชัยชาญ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เข้าร่วมพบปะและร่วมชี้แจงเกษตรกร ณ ศาลาประชาคม หมู่ที่ 2 ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ในเขตพื้นที่ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายางมณี

นายกฤษฎา ศรีเพิ่มพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 กล่าวว่า แผน/ผล การบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ปี 2562/63 (ลุ่มน้ำเจ้าพระยา) ปริมาณ 5,377 ล้าน ลบ.ม. ในช่วงฤดูแล้งจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน ตามลำดับความสำคัญของกิจกรรมการใช้น้ำ สำหรับการ อุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศเกษตรกรรม(พืชต่อเนื่อง) และอุตสาหกรรม ตามลำดับ จากแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2562/63 ลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่มีแผนการเพาะปลูกข้าวนาปรัง เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนมีไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนด้านการเกษตร ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะดำเนินการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 ให้เป็นไปตามแผนฯอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ และพืชที่ใช้น้ำน้อย ส่วนข้าวนาปรังเนื่องจากปริมาณน้ำมีไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก จึงไม่สามารถสนับสนุนได้ ต้องขอความร่วมแรงร่วมใจจากเกษตรกรลดพื้นที่การเพาะปลูกข้าวนาปรัง รวมทั้งขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัดและเป็นไปตามแผนการจัดสรรน้ำที่วางไว้ เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียงพอใช้ไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า แนวทางการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ภัยแล้ง กรมชลประทาน นำมาตรการในการจ้างแรงงานมาใช้ในพื้นที่ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งและเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรให้ได้มากที่สุด

 

 

About the author
เฉลิมศักดิ์ บุญประคอง
บรรณาธิการข่าว บริษัท อ่างทองเคเบิลทีวี จำกัด