ผู้ว่าฯอ่างทองเรียกนายอำเภอทั้ง 7 อำเภอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมด่วน

ผู้ว่าฯอ่างทองเรียกนายอำเภอทั้ง 7 อำเภอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมด่วนติดตามสถานการณ์ที่จะลงมาจังหวัดอ่างทอง

เมื่อเวลา 07.30 น. ที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง นายเรวัต ประสงค์ ผู้ว่าการจังหวัดอ่างทอง ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและติดตามสถานการณ์มวลน้ำที่จะไหลผ่านจังหวัดอ่างทอง โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายประมวล มุ่งมาตร นายรัฐฐะ สิริธรังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง นายสมยศ พุ่มน้อย ปลัดจังหวัด นายอำเภอทั้ง 7 อำเภอ สนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ ชลประทานอ่างทอง  เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เกษตรจังหวัด ประมงจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง ผู้แทนเทศบาลเมืองอ่างทอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม หลังจากเขื่อนเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาทเพิ่มการระบายน้ำลงสู่ท้ายเขื่อนเพื่อเตรียมพร้อมรับมือน้ำเหนือจากอิทธิพลจากพายุ “พายุโพดุล” ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ทำให้ปริมาณน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทางสำนักงานชลประทานที่ 12 ควบคุมระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และควบคุมการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ในอัตราไม่เกิน 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

โดยการบริหารจัดการน้ำเต็มศักยภาพของพื้นที่ ซึ่งปริมาณน้ำไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่บริเวณริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยา หากไม่มีปริมาณฝนตกเพิ่ม และขอแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา เกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา สถานประกอบการ ร้านค้า นักท่องเที่ยว ประชาชนที่สัญจรทางน้ำ ให้เตรียมการป้องกันและเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำใน ต.โผงเผง อ.ป่าโมก และ ต.บางจัก อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง

นายเรวัต ประสงค์ ผู้ว่าการจังหวัดอ่างทอง จากเหตุการณ์ที่มี“พายุโพดุล” เข้ามาทางจังหวัดอ่างทองก็ได้รับผลกระทบมีน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาและน้ำไซโฟ จึงได้เรียกประชุมด่วน ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาปล่อยมาแค่ 100 กว่าคิวแต่วันนี้ปล่อยมา 480 คิวต่อวินาทีอันนี้ยังไม่รวมน้ำไซโฟ ซึ่งมีผลกระโดยตรงกับกระชังปลา และกลุ่มที่ทำการประมงในแม่น้ำ ซึ่งที่ผ่านมาทางจังหวัดก็ได้มีการแจ้งเตือนเป็นระยะ นอกจากนี้ทางจังหวัดได้ประชาสัมพันธ์ให้บ้านเรือนที่อยู่ริมตลิ่งให้ขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง เพราะเราไม่ทราบว่าน้ำท้ายเขื่อนมาเท่าไหร่ น้ำไซโฟมาเท่าไหร่ แต่วันนี้ได้รับการชี้แจงจากชลประทานว่าภายในหนึ่งสัปดาห์นี้จะมีการปล่อยน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาประมาณ 600 ลบ.เมตร/วินาที ซึ่งตรงนี้ทางจังหวัดก็เป็นห่วงในเรื่องของตลิ่งพัง เพราะว่าที่ผ่านมาก่อนที่“พายุโพดุล” เข้ามา เพราะที่ผ่านมาริมตลิ่งเราฝนทิ้งช่วงอาจจะทำให้ตลิ่งทรุดและบ้านเรือนพังตามมา แต่ทางจังหวัดได้เตรียมการรับมือไว้แล้ว ส่วนปัญหาของจังหวัดอ่างทองโดยตรงคือพายุที่จะเข้ามาอีกลูกที่จะมีฝนตกใต้เขื่อนเจ้าพระยา ใต้เขื่อนสิริกิติย์ เพราะน้ำที่ฝนตกตั้งแต่จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย จังหวัด แพร่ลงพิจิตร นครสวรรค์ น้ำก็จะลงมาที่เขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งเขื่อนเจ้าพระยาเป็นแค่เขื่อนทดน้ำ ก็จะผันไปทางซ้าย ขวา มีปัญหาก็จะลงพื้นที่ท้ายเขื่อนและลงมาพื้นที่อำเภอป่าโมกจังหวัดอ่างทอง ที่ตำบลโผงเผง ตำบลบางเสด็จ ถ้า 800 คิว ก็จะกระทบกับบ้านเรือนราษฏรทันที ซึ่งได้สั่งการไปแล้วให้ดูน้ำใน 4 เรื่อง 1.น้ำฝน 2.น้ำท้ายเขื่อน 3.น้ำไซโฟที่จะมา และประการที่ 4 คือน้ำขึ้นน้ำลง และให้วัดระดับน้ำตลอดเวลา  สำหรับเรื่องของปศุสัตว์ ประมง เกษตรกรรม เราเตรียมไว้วิธีการแก้ปัญหาอุทกภัยอย่างยั่งยืนคือโครงการเอาน้ำเข้านา เอาปลาเข้าทุ่ง ซึ่งทางจังหวัดอ่างทองได้ประกาศขอความร่วมมือให้เกษตรกรทำนา 2 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่ก็ทำหมดและจะเกี่ยวข้าวภายในเดือนกันยายนนี้แสนกว่าไร่ ส่วนเกษตรกรที่ทำนาเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี้ 5 พันกว่าไร่ ทางจังหวัดได้สั่งให้ทางเกษตรอำเภอและนายอำเภอลงไปดูแลแล้ว และวันนี้ตนเองได้สั่งการให้สำรวจพื้นที่ ซึ่งที่ไหนเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วให้เอาน้ำเข้าทุ่งนาทันที เพื่อเป็นการลดภาระไม่ให้น้ำสูงในแม่น้ำ และให้ประมงเอาปลาธรรมชาติไปปล่อยในนาข้าว ตรงนี้เราให้ท่วมคันนาแต่ไม่ให้ท่วมถนน

ล่าสุดข้อมูลจากสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน เขื่อนเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาทเพิ่มการระบายน้ำโดยล่าสุดระบายน้ำอยู่ที่ 550 ลบ.เมตร/วินาที เหนือเขื่อน 16.45 เมตรทำให้ระดับน้ำที่สถานีชลมาตร C7A สำนักชลประทานที่ 12 หน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทอง ระดับน้ำเพิ่มเป็น 2.14 เมตร/รทก.น้ำไหลผ่าน 362 ลบ.เมตร/วินาที

 

About the author
เฉลิมศักดิ์ บุญประคอง
บรรณาธิการข่าว บริษัท อ่างทองเคเบิลทีวี จำกัด